ตอนที่ ๙ วิธีทำทะเบียนพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด
25/05/2019 วัดโมลีโลกยาราม
ตอนที่ ๙
วิธีทำทะเบียนพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด
——————–
ทะเบียนพระภิกษุสามเณร เป็นทะเบียนแสดงสังกัดวัดของพระภิกษุสามเณรอันเป็นทะเบียนหลักของวัด จัดเป็นเอกสารราชการอันสำคัญในการควบคุมพระภิกษุ-สามเณรในสังกัดวัดนั้น ๆ เหมือนกับทะเบียนบ้านของทางราชการ จึงกำหนดบทเรียนดังต่อไปนี้
๑. วัดที่ต้องมีทะเบียน
๒. ผู้ทำทะเบียนและผู้ที่ต้องขึ้นทะเบียน
๓. วิธีปฏิบัติ
วัดที่ต้องมีทะเบียน ได้แก่วัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย และวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น จะต้องมีทะเบียนพระภิกษุสามเณรทุกวัด ส่วนสถานที่ใด ๆ ซึ่งสร้างเป็นวัด แต่ยังมิได้จัดตั้งให้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องขอขึ้นทะเบียนสังกัดในวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเจ้าอาวาสวัดนั้นยอมรับปกครอง
ผู้ทำทะเบียน ได้แก่เจ้าอาวาส แต่เจ้าอาวาสอาจมอบให้รองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นผู้จัดทำแทนก็ได้ ส่วนผู้ที่ต้องขึ้นทะเบียนนั้น ได้แก่ พระภิกษุสามเณรผู้ได้รับการบรรพชาอุปสมบทอันชอบด้วยพระธรรมวินัยและกฎหมาย โดยมีลักษณะเป็น ๒ คือ
๑) ผู้บรรพชาอุปสมบทใหม่
๒) ผู้ย้ายเข้าสังกัดใหม่
วิธีปฏิบัติ ต้องจัดทำทะเบียนประจำวัด เพื่อแสดงจำนวนและรายชื่อพระภิกษุสามเณรในวัดนั้นๆ ทุกวัดใช้ทะเบียนซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รายการในทะเบียนนั้น ต้องให้สังกัดตรงกันกับในหนังสือสุทธิ ซึ่งพอกำหนดวิธีปฏิบัติเป็น ๓ วิธี คือ
๑) วิธีขึ้นทะเบียนผู้บรรพชาอุปสมบทใหม่
๒) วิธีขึ้นทะเบียนผู้ย้ายเข้าสังกัดใหม่
๓) วิธีปฏิบัติอื่น
วิธีที่ ๑ จะต้องขึ้นทะเบียนถัดจากที่เจ้าอาวาสลงนามรับเข้าสังกัดวัด ในหน้า ๖ เพราะเมื่อรับเข้าสังกัดแล้ว จักต้องมีชื่อในทะเบียนพระภิกษุสามเณรวัดนั้น ๆ เจ้าอาวาสจักต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง
วิธีที่ ๒ จะต้องขึ้นทะเบียนถัดจากที่เจ้าอาวาสลงนามรับเข้าสังกัดวัด ในหน้า ๘ หรือหน้าอื่น ๆ เพราะเมื่อรับเข้าสังกัดแล้ว จักต้องมีชื่อในทะเบียนพระภิกษุสามเณรวัดนั้น ๆ
วิธีที่ ๓ ให้ปฏิบัติตามข้อแนะในคำแนะนำในทะเบียน โดยเฉพาะการจำหน่าย ให้ปฏิบัติถัดจากที่เจ้าอาวาสลงนามย้ายสังกัดในหนังสือสุทธิหรือเพราะเหตุอื่นใด ให้ฉีกมุมและบันทึกเหตุที่จำหน่ายไว้ให้ชัดแจ้ง ในการขึ้นทะเบียนและจำหน่ายทะเบียน ต้องแจ้งตามลำดับจนถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ส่วนทะเบียนศิษย์วัด ให้จัดทำทุกวัดตามแบบทะเบียนซึ่งจัดพิมพ์โดยกรมการ-ศาสนา
แบบทะเบียนประวัติพระภิกษุ
แบบทะเบียนประวัติสามเณร
ตัวอย่างหนังสือขอรับรองการย้ายเข้าสังกัด
แบบบัญชีขอรับรองเข้าสังกัด
ตัวอย่างหนังสือขอรับรองการย้ายออกจากสังกัด
แบบบัญชีขอรับรองการย้ายสังกัด
แบบทะเบียนประวัติศิษย์วัด
Hits: 1410
บทที่ ๖ การดำเนินกิจการคณะสงฆ์
20/05/2019 วัดโมลีโลกยาราม
บทที่ ๖
การดำเนินกิจการคณะสงฆ์
—————————–
ในบทนี้ ขอกำหนดการดำเนินกิจการคณะสงฆ์เป็นแม่บท เพราะเห็นว่า พระสังฆาธิการและเลขานุการ เป็นศูนย์รวมงานการคณะสงฆ์และการพระศาสนาทุกอย่าง ทั้งที่ระบุไว้ในระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ทั้งที่มิได้ระบุไว้ พระสังฆาธิการและเลขานุการ จึงจำต้องศึกษาวิธีดำเนินกิจการเกี่ยวกับการคณะสงฆ์และการพระศาสนา ให้เข้าใจโดยละเอียดและถูกต้องชัดเจน
อันการปกครองคณะสงฆ์หรือสังฆมณฑลนั้น ยึดพระธรรมวินัยเป็นหลักชั้นอุดม- การณ์ และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เป็นหลักจัดรูปแบบและระเบียบการปกครอง โดยทางราชอาณาจักรได้ตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ให้จัดรูปแบบการปกครองระดับต่าง ๆ และในพระราชบัญญัติ ได้ให้อำนาจจัดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินกิจการคณะสงฆ์และการพระศาสนาไว้ตามความเหมาะสม แต่มิให้ขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัยและกฎหมาย เพราะจุดยืนของคณะสงฆ์คือพระธรรมวินัยและกฎหมาย ดังนั้น จึงมีบท บัญญัติเพื่อการดำเนินกิจการคณะสงฆ์ในรูปแบบต่าง ๆ มี กฎมหาเถรสมาคม กฎ กระทรวง และบทบัญญัติอื่น
อนึ่ง กฎหมายที่ให้อำนาจจัดระบบการปกครองนั้น ได้กำหนดให้ถือว่าผู้ปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา โดยชัดแจ้ง พระสังฆาธิการทุกรูป จึงต้องมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานเหมือนกับข้าราชการของแผ่นดินอีกส่วนหนึ่งด้วย และการปฏิบัติหน้าที่ของพระสังฆาธิการทุกระดับ ต้องเป็นไปโดยถูกต้องตามหลักนิติธรรม ต้องยึดความถูกต้อง สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม เป็นหลักการจะเป็นเช่นนั้นได้ ต้องอาศัยความรู้ความฉลาดและความสามารถเป็นเครื่องมือ ดังนั้น พระสังฆาธิการและเลขานุการต้องศึกษาต้องทบทวนให้เกิดความเข้าใจตามลำดับ ให้เข้าใจในความเฉพาะบทและแนวปฏิบัติได้อย่างชัดเจน
ในบทนี้จะถอดความจากตัวบทนั้น ๆ เฉพาะที่เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการที่ควรทราบมาเรียนถวายเป็นแนวปฏิบัติ โดยจะเน้นหลักเกณฑ์แต่ละอย่างและวิธีปฏิบัติเป็นจุดสำคัญ และบางเรื่องชี้พอเป็นแนวทาง บางเรื่องจักทำตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน โดยจะยึดการคณะสงฆ์และการพระศาสนา ตามความในพระราชบัญญัติและกฎมหาเถร-สมาคม ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ มาเป็นหลักยืน การคณะสงฆ์และการพระศาสนาดังกล่าวนั้น แยกตามลักษณะเป็น ๗ การ คือ
๑) การรักษาความเรียบร้อยดีงาม (การปกครอง)
๒) การศาสนศึกษา
๓) การศึกษาสงเคราะห์
๔) การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๕) การสาธารณูปการ
๖) การสาธารณสงเคราะห์
๗) การนิคหกรรม
ในบทนี้ จักนำการทั้ง ๗ นำมาเป็นบทเรียนตามลำดับ โดยจะเน้นให้ชัดเจนเฉพาะที่เห็นว่าอำนวยประโยชน์แก่พระสังฆาธิการและเลขานุการในส่วนภูมิภาคเป็นสำคัญ และกำหนดแบ่งเป็นบทเรียนเป็นส่วนและแยกจากส่วนเป็นตอน บางส่วนหรือบางตอนจะกล่าวถึงเพียงโครงสร้าง บางส่วนและบางตอนจะเรียนถวายรายละเอียดแห่งวิธีปฏิบัติโดยชัดเจน พอจะถือเป็นแนวปฏิบัติงานคณะสงฆ์ตามอำนาจหน้าที่ได้ ดังจะเรียนถวายต่อไป
ส่วนที่ ๑ เขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง
ส่วนที่ ๒ เขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
ตอนที่ ๑ เขตปกครองคณะสงฆ์ชั้นภาค
ตอนที่ ๒ เขตปกครองคณะสงฆ์ชั้นจังหวัด
ตอนที่ ๓ เขตปกครองคณะสงฆ์ชั้นอำเภอ
ตอนที่ ๔ เขตปกครองคณะสงฆ์ชั้นตำบล
ส่วนที่ ๓ การแต่งตั้งผู้ปกครองคณะสงฆ์
ตอนที่ ๑ วิธีแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าคณะ
ตัวอย่างหนังสือแจ้งการแต่งตั้งฯ
ตัวอย่างคำสั่งแต่งตั้งในกรณีที่ไม่มีเจ้าคณะตำบล
ตัวอย่างในกรณีที่เจ้าคณะตำบลไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ตอนที่ ๒ วิธีแต่งตั้งเลขานุการ
ตอนที่ ๓ วิธีแต่งตั้งพระสังฆาธิการชั้นเจ้าคณะ
ตอนที่ ๔ วิธียกเจ้าคณะและรองเจ้าคณะเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะ
ส่วนที่ ๔ การแต่งตั้งผู้ปกครองวัด
ตอนที่ ๑ วิธีแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์
ตอนที่ ๒วิธีแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดราษฎร์
ตอนที่ ๓ วิธีแต่งตั้งรองและผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์
ตอนที่ ๔ วิธีแต่งตั้งไวยาวัจกร
ส่วนที่ ๕ การพ้นจากตำแหน่ง พระสังฆาธิการและไวยาวัจกร
ตอนที่ ๑ วิธีขอลาออกจากตำแหน่ง
ตอนที่ ๒ วิธียกพระสังฆาธิการเป็นกิตติมศักดิ์
ตอนที่ ๓ วิธีให้พระสังฆาธิการ ออกจากตำแหน่งหน้าที่
ตอนที่ ๔ วิธีถอดถอนพระสังฆาธิการ
ตอนที่ ๕ วิธีให้พระสังฆาธิการพัก และปลดจากตำแหน่งหน้าที่
ตอนที่ ๖ วิธีตำหนิโทษและภาคทัณฑ์
ตอนที่ ๗ วิธีร้องทุกข์
ตอนที่ ๘ วิธีทัดทานคำสั่ง
ตอนที่ ๙ วิธีให้ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดราษฎร์พ้นจากหน้าที่
ตอนที่ ๑๐ วิธีให้เลขานุการเจ้าคณะ และเลขานุการรองเจ้าคณะพ้นจากหน้าที่
ตอนที่ ๑๑ วิธีให้ไวยาวัจกรพ้นจากตำแหน่งหน้าที่
ส่วนที่ ๖ การมอบหมายอำนาจหน้าที่ และส่งมอบงาน
ตอนที่ ๑ วิธีมอบหมายอำนาจหน้าที่แก่รองเจ้าคณะ
ตอนที่ ๒ วิธีมอบหมายงาน ให้รองและผู้ช่วยเจ้าอาวาสปฏิบัติ
ตอนที่ ๓ วิธีมอบหมายอำนาจหน้าที่ แก่ไวยาวัจกร
ตอนที่ ๔ วิธีส่งมอบงาน ในหน้าที่การวัดและการคณะสงฆ์
ส่วนที่ ๗ งานในหน้าที่พระอุปัชฌาย์ และงานทะเบียน
ตอนที่ ๑ วิธีปฏิบัติก่อนให้บรรพชาอุปสมบท
ตอนที่ ๒ วิธีนับอายุอุปสัมปทาเปกข์
ตอนที่ ๓ วิธีตั้งฉายาอุปสัมปทาเปกข์
ตอนที่ ๔ วิธีออกหนังสือสุทธิ
ตอนที่ ๕ วิธีออกหนังสือสุทธิแทนหนังสือสุทธิเดิม
ตอนที่ ๖ วิธีฝากสัทธิวิหาริกเข้าอยู่วัดอื่น
ตอนที่ ๗ วิธีทำและส่งบัญชีสัทธิวิหาริก
ตอนที่ ๘ วิธีทำทะเบียนสัทธิวิหาริก
ตอนที่ ๙ วิธีทำทะเบียนพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด
ส่วนที่ ๘ วิธีควบคุมและส่งเสริมการวัด
ตอนที่ ๑ วิธีขออนุญาตสร้างวัด
ตอนที่ ๒ วิธีขอตั้งวัด
ตอนที่ ๓ วิธีขอรวมวัด
ตอนที่ ๔ วิธีย้ายวัด
ตอนที่ ๕ วิธียุบเลิกวัด
ตอนที่ ๖ วิธีขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ตอนที่ ๗ วิธีขอยกวัดร้าง ขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่อาศัย
ตอนที่ ๘ วิธีเปลี่ยนชื่อวัด
ตอนที่ ๙ วิธียกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง
ส่วนที่ ๙ การจัดศาสนสมบัติของวัด
ตอนที่ ๑ วิธีจัดทำทะเบียนทรัพย์สินของวัด
ตอนที่ ๒ วิธีกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์
ตอนที่ ๓ การให้เช่าที่ดินหรืออาคาร
ตอนที่ ๔ การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ที่กัลปนา หรือที่ดินที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์
ตอนที่ ๕ วิธีรับและเก็บรักษาเงินของวัด และวิธีทำบัญชี
ส่วนที่ ๑๐ สมณศักดิ์
ตอนที่ ๑ สมเด็จพระราชาคณะ
ตอนที่ ๒ พระราชาคณะ
ตอนที่ ๓ พระครูสัญญาบัตร
ตอนที่ ๔ ฐานานุกรม
ตอนที่ ๕ เปรียญ
ตอนที่ ๖ ประทวนสมศักดิ์และพระพิธีธรรม
ตอนที่ ๗ วิธีขอสมณศักดิ์ และขอเลื่อนชั้นพระสังฆาธิการ
ตอนที่ ๘ ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม และเปรียญ
Hits: 1479