ตำบลบ้านเมืองของอำเภอขุขันธ์ มี ๒๒ ตำบล ส่วนตำบลคณะสงฆ์ขุขันธ์ มี ๑๓ ตำบล ประกอบไปด้วย
๑. ตำบลกันทรารมย์ - ปราสาท - ศรีสะอาด
๒. ตำบลใจดี - โคกเพชร
๓. ตำบลจะกง - กฤษณา
๔. ตำบลดองกำเม็ด
๕. ตำบลตะเคียน - ลมศักดิ์
๖. ตำบลปรือใหญ่
๗. ตำบลสะเดาใหญ่ - ศรีตระกูล - นิคมพัฒนา - หนองฉลอง-ตาอุด
๘. ตำบลโสน
๙. ตำบลสำโรงตาเจ็น
๑๐. ตำบลห้วยใต้ (รวมวัดนิคมสายเอก 1 วัด)
๑๑. ตำบลห้วยสำราญ
๑๒. ตำบลห้วยเหนือ
๑๓. ตำบลหัวเสือ
สำหรับ ตำบลใหญ่พิเศษ มีตำแหน่งรองเจ้าคณะตำบล 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลปรือใหญ่ ตำบลโสน และตำบลสะเดาใหญ่
สำหรับ ตำบลใหญ่พิเศษ มีตำแหน่งรองเจ้าคณะตำบล 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลปรือใหญ่ ตำบลโสน และตำบลสะเดาใหญ่
หมายเหตุ
ดังนั้น เมื่อรวม “การ” กับ “คณะสงฆ์” เป็น “การคณะสงฆ์” จึงหมายถึง “งานของคณะสงฆ์” “สิ่งหรือเรื่องที่คณะสงฆ์ต้องทำ” “สิ่งหรือเรื่องที่คณะสงฆ์ควรทำ” “ธุระของคณะสงฆ์” “หน้าที่ของคณะสงฆ์” โดยตรงได้แก่กิจการที่คณะสงฆ์ต้องกระทำหรือที่คณะสงฆ์ควรกระทำ กิจการที่เป็นงานของคณะสงฆ์ กิจการที่คณะสงฆ์ต้องถือหรือควรถือเป็นธุระหน้าที่ เพราะเป็นกิจการขององค์กรปกครองคณะสงฆ์ทุกส่วนและทุกชั้น เพราะคณะสงฆ์ต้องดำเนินกิจการคณะสงฆ์โดยแท้
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มาตรา ๑๕ ตรี (๑) และ (๓) และข้อ ๕ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ.๒๕๔๑) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ กล่าวถึง “การ” ไว้โดยชัดเจนเป็น ๖ คือ
๑) การรักษาความเรียบร้อยดีงาม
๒) การศาสนศึกษา
๓) การศึกษาสงเคราะห์
๔) การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๕) การสาธารณูปการ
๖) การสาธารณสงเคราะห์
การคณะสงฆ์
**************
คำว่า “การ” เป็นคำนาม ในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า “งาน” “สิ่งหรือเรื่องที่ต้องทำ” ถ้าอยู่หน้านาม หมายถึง “เรื่อง” “ธุระ” “หน้าที่” ดังนั้น เมื่อรวม “การ” กับ “คณะสงฆ์” เป็น “การคณะสงฆ์” จึงหมายถึง “งานของคณะสงฆ์” “สิ่งหรือเรื่องที่คณะสงฆ์ต้องทำ” “สิ่งหรือเรื่องที่คณะสงฆ์ควรทำ” “ธุระของคณะสงฆ์” “หน้าที่ของคณะสงฆ์” โดยตรงได้แก่กิจการที่คณะสงฆ์ต้องกระทำหรือที่คณะสงฆ์ควรกระทำ กิจการที่เป็นงานของคณะสงฆ์ กิจการที่คณะสงฆ์ต้องถือหรือควรถือเป็นธุระหน้าที่ เพราะเป็นกิจการขององค์กรปกครองคณะสงฆ์ทุกส่วนและทุกชั้น เพราะคณะสงฆ์ต้องดำเนินกิจการคณะสงฆ์โดยแท้
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มาตรา ๑๕ ตรี (๑) และ (๓) และข้อ ๕ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ.๒๕๔๑) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ กล่าวถึง “การ” ไว้โดยชัดเจนเป็น ๖ คือ
๑) การรักษาความเรียบร้อยดีงาม
๒) การศาสนศึกษา
๓) การศึกษาสงเคราะห์
๔) การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๕) การสาธารณูปการ
๖) การสาธารณสงเคราะห์
กิจการคณะสงฆ์ และกิจการพระศาสนา จะมีมากน้อยเพียงใดก็ตาม ย่อมรวมลงใน “การ” ทั้ง ๖ นี้ และการทั้ง ๖ นี้ เป็นงานในหน้าที่ขององค์กรปกครองคณะสงฆ์โดยแท้ แต่วิธีดำเนินการนั้น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบมหาเถรสมาคม
อนึ่ง การนิคหกรรม ตามมาตรา ๒๔ – ๒๕ ซึ่งแต่ใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ เรียกว่า “การวินิจฉัยอธิกรณ์” ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
กล่าวโดยสรุปแล้ว “การ” ที่กล่าวมานี้ ย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาส เจ้าคณะ และ มหาเถรสมาคม ตลอดจนพระภิกษุ คณะบุคคล ที่มหาเถรสมาคมมอบให้เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่ทั้งสิ้น
ที่มา : “ส่วนที่ ๖ การคณะสงฆ์ - วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร.” 2019. วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร. May 13, 2019. https://www.watmoli.com/wittaya-two/1710/.